หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 1


พระพุทธศาสนามีอายุยืนยาวมาสองพันกว่าปีแล้ว ธรรมดาเกวียนที่บรรทุกน้ำเดินทางมาไกลการที่น้ำจะไม่กระฉอกหรือรั่ว ซึมไปเลยนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ไม่มีใครอาจมั่นใจได้ว่าตลอดเวลาการเดินทาง ไกลของพระพุทธศาสนาไปทั่วทุกทิศ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะ ไม่รั่วซึมหรือหาย ตกหล่นไปที่ใดอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสั่งสอน เกี่ยวกับ “ธรรมกาย” ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในแง่ของความหมาย ธรรมกายคืออะไรกันแน่ และการนั่งสมาธิแบบธรรมกายซึ่งเห็นองค์พระนั้น มีอยู่ตั้งแต่โบราณ แล้วหล่นหาย หรือถูกปรับแปลงไปในกลางทาง หรือว่าเป็น เรื่องใหม่ที่มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า



หลังพุทธกาล สงครามเกิดทั่วแผ่นดินชมพูทวีป ราชวงศ์อินเดียแย่งชิงราชบัลลังก์ครั้งแล้วครั้งเล่า พระราชาที่ต่าง ศาสนากันเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็ล้มศาสนาเดิม แล้วสถาปนาความเชื่อของตน ขึ้นมาให้มั่นคงในแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกองทัพต่างศาสนาจากตะวันตกยาตราเข้า แผ่นดินเอเชียกลางตลอดลงมาถึงชมพูทวีปตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7 ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ 18 สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก คือนาลันทาถูกเผาทำลาย ไม่มีสิ่งอื่นใดที่ชาวพุทธจะทำได้นอกจากหลบลี้หนีออกไป




พระสงฆ์ที่จดจำคำสอนของพระพุทธองค์สืบต่อกันมาแต่ครั้งพุทธกาลเมื่อนำไป เผยแผ่ในที่ใหม่ ก็ย่อมจะต้องมีการปรับแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้สอดคล้อง กับผู้รับฟัง แน่นอนว่าการบันทึกคัมภีร์พุทธศาสนาตั้งแต่พุทธกาลใช้วิธี ท่องจำ และยังไม่พบหลักฐานเป็นรูปธรรมว่าในครั้งพุทธกาลมีการเขียนในรูป ตัวอักษรหรือไม่ พระสงฆ์ซึ่งแตกฉานในพระธรรมที่ท่องจำมาได้ค่อยๆ จารึก พระพุทธวัจนะลงในรูปของอักษรเขียนปรากฏหลักฐานเก่าที่สุดเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ 2-3 ซึ่งคณะวิจัยได้ติดตามไปจนพบหลักฐานคัมภีร์พุทธที่เก่าแก่ ที่สุด คือกลุ่มของ สปลิตคอลเลคชัน(Split Collection)ประเทศเยอรมนี จารึกบนเปลือกไม้เบิร์ช


เขียนด้วยภาษาคานธารี อักษรขโรษฐี จำนวน 5 ชิ้น ม้วนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในราว พ.ศ. 296-434 จากการทดสอบด้วยการทำ เรดิโอคาร์บอน(radio-carbon dating)เนื้อหาของคัมภีร์นี้ส่วนใหญ่เป็น ประเภทคาถาในสุตตนิบาต ธรรมบท อปทาน เถรคาถา ฯลฯ และปรัชญา ปารมิตา สำหรับปรัชญาปารมิตา เป็นชิ้นที่ใหม่กว่า ศ.ฟอล์ก (Prof.Falk) ผู้ซึ่งกำลังศึกษา คัมภีร์ชุดนี้อยู่ได้ สรุปว่าน่าจะอยู่ในราว พ.ศ. 554 ส่วนตัวต้นฉบับปรัชญาปารมิตา ที่ว่ากันว่าเป็นต้นกระแสมหายานน่าจะอยู่ราว พ.ศ. 500 เก่าใกล้เคียงกับบาลี ที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อนว่าเก่าแก่ที่สุด กล่าวคือราว พ.ศ. 444 เกิดจารึกคัมภีร์ พระไตรปิฎกภาษาบาลีของฝ่ายเถรวาทลงใบลาน

นอกจากสงครามที่ทำให้พุทธศาสนาต้องกระจัดกระจายกันไปแล้ว การแตกสายทำให้หลายสำนักต้องสร้างจุดเด่นในคำสอนของตนเองขึ้นมา ความห่างไกล ของภูมิประเทศและความยากลำบากในการเดินทางเชื่อมต่อถึงกันทำให้คำสอน เหล่านั้นแปลกแยกแตกต่างกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

(โปรดติดตามตอนต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1)


(Prof. Dr. Harry Falk, The Bajaur Collection of Buddhist Kharosthi Manuscripts (DFG), the Institute of the Languages and Cultures of South Asia at Freie Universität, Berlin)


Share this

Related Posts

Previous
Next Post »