หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 5 : เอเชียอาคเนย์

เอเชียอาคเนย์ โดยส่วนใหญ่หมายรวมถึงดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียทั้งหมด ภูมิประเทศทางทิศใต้ติดทะเล ทางเหนือติดผืนแผ่นดินใหญ่ มีประเทศที่ใหญ่กว่าคืออินเดียอยู่ทางทิศตะวันตกและจีนอยู่ทางทิศเหนือทั้งอินเดียและจีนมีความรุ่งเรืองทั้งทางกำลังทหารและศิลปวัฒนธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้รับอิทธิพลจากความเปลี่ยนแปลงในทั้งสองประเทศนี้อย่างยาวนาน แต่เนื่องจากประเด็นที่ศึกษาคือพุทธศาสนา อิทธิพลหลักจึงมาจากประเทศอินเดีย

จากงานวิจัยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งผู้วิจัยคือ ดร.กิจชัย ศึกษา จากคัมภีร์ 9 เรื่อง พระครูปลัดนายวรวัฒน์ 1 เรื่อง พระปอเหม่า 28 เรื่อง สุปราณี พณิชยพงศ์ 1 เรื่อง คัมภีร์ที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์เถรวาทในไทยและเขมร ส่วนคัมภีร์จตุรารักขาเผยแพร่อยู่ในเอเชียอาคเนย์โดยแพร่หลายในศรีลังกา งานที่ศึกษานี้มีคัมภีร์หนึ่งที่อุปถัมภ์โดยองค์พระมหากษัตริย์ยุคต้นรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 คือคัมภีร์ธัมมกายาทิ เก็บรักษาไว้ในพระอารามหลวงวัดพระเชตุพนฯอันแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อคัมภีร์นี้ คัมภีร์ที่ศึกษาทั้งหมดส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปฏิบัติภาวนา แต่ก็สามารถตอบปัญหางานวิจัยทั้งในเชิงหลักการและการปฏิบัติได้ดังนี้
 
คัมภีร์ลานเงินประดับทอง ภาษาขอม

คัมภีร์ธรรมกายาธิ อักษรขอม

คัมภีร์ธรรมกาย อักษรธรรมล้านนา


1. มีการกล่าวถึงธรรมกายจริงในคัมภีร์โบราณ
การวิเคราะห์คัมภีร์อักษรธรรมของ ดร.กิจชัยให้ผลว่าธรรมกายเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในสังคมชาวพุทธของเอเชียอาคเนย์เมื่อนับเนื่องด้วยอายุของโยคาวจรไปได้ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ธรรมกายเป็นที่รู้จักว่าประกอบขึ้นด้วยญาณรู้แจ้งและเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า แสดงว่าธรรมกาย เป็นที่รู้จักในสังคมชั้นสูงของสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

คัมภีร์โยคาวจรกล่าวถึงธรรมกายว่า ธรรมกายนี้เป็นธรรมกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสามารถ ถูกพบได้ในนิพพาน (การไปสู่นิพพานคือการได้พบพระพุทธเจ้า) สรีระของพระพุทธเจ้าประกอบขึ้นด้วยญาณต่างๆมีการกล่าวถึง เมืองนิพพานเรื่องของพระพุทธเจ้าหรือกายธรรมนี้มีความคล้ายคลึงกับคัมภีร์กระแสหลักดั้งเดิมสายสรรวาสติวาทและมหาสางฆิกะ ที่เรียกว่ามหายานยุคก่อนขยายความ แต่ก็สอดคล้องกับมหายานยุคหลังที่ถูกอรรถาธิบายต่อเติมไปมากแล้วในบางส่วนด้วย

คำว่า ดวงแก้ว และ แสงสว่างภายใน มีปรากฏบ่อยครั้งมาก อาจชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงกับคัมภีร์ ตถาคตครรภะอันเก่าแก่ ที่ว่าด้วยความบริสุทธิ์ที่เป็นรากเดิมแห่งชีวิตแต่ถูกกลบฝังไว้ด้วยกิเลส คำว่า ดวงแก้วที่ข้ามาชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างดวงแก้วกับ กายกายที่มาจากดวงสว่างที่บริสุทธิ์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์มีจิตดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ซึ่งอาจพ้องกับศัพท์ โพธิหรืออาจพ้องกับทฤษฎีตถาคตครรภะเช่นในคัมภีร์ศรีมาลาเทวีสูตรเมื่อมาแปดเปื้อนกับบาปธรรมจิตจึงหม่นหมอง ส่วนในคัมภีร์จตุรารักขาก็มีกล่าวถึงธรรมกาย
ตอนต่อไปจะกล่าวถึง การทำสมาธิแบบ “ธรรมกาย” ที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณแถบเอเชียอาคเนย์
                                        (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »