หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 4 : จีน

       จากคันธาระและเอเชียกลางมาสู่จีน พุทธศาสนาอาจจะเข้ามาสู่จีนตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ซึ่งอาจจะย้อนกลับไปได้ถึงราว พ.ศ. 200-300 อิทธิพลของพุทธศาสนามีต่อลัทธิเต๋าของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการนั่งสมาธิ ซึ่งแสดงว่าการปฏิบัติธรรมแบบพุทธเป็นที่นิยมกันมากและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง
     
       จากการศึกษาของพระเกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ ใน 7 คัมภีร์ที่ศึกษาพบว่า การปฏิบัติธรรมของจีนในยุคต้นเป็นแบบการเห็นองค์พระ และระลึกถึงองค์พระที่ศูนย์กลางกาย แล้วเห็นองค์พระผุดซ้อนออกมาจากกลางนาภีขององค์พระแต่ละองค์ มีการเห็นกายแก้ว เห็นแสงสว่างในกลางกาย ในคัมภีร์กล่าวว่า เห็นดวงสว่างผุดออกมาจากกลางกายนั้น และให้ผู้ปฏิบัตินึกพระอามิตายุสในกลางดวงสว่างกลางกายนั้น
     
       ในอานาปานสมฤติสูตร ระบุวิธีภาวนาถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นวิธีเก่าแก่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งพระภิกษุอันซื่อกาวได้นำมาแปลในสมัยของท่าน การนั่งสมาธิแบบตามลม แล้วลมหยุด จิตตั้งที่ศูนย์กลางกาย สังเกตดูนิ่งๆ เฉยๆ จิตก็จะตกศูนย์ถึงความบริสุทธิ์ การนั่งสมาธิแบบตรึกนึกถึงองค์พระ การเห็นแสงสว่าง เห็นกายแก้ว สอดคล้องกับคัมภีร์ดั้งเดิมในคันธาระและเอเชียกลาง แต่การปฏิบัติแบบจีนยังอธิบายลึกซึ้งลงไปยิ่งกว่า คือกล่าวถึงศูนย์กลางกายและองค์พระผุดซ้อนจากกลางกายนั้น ทั้งหมดนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับวิธีปฏิบัติธรรมของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งพระเกียรติศักดิ์ได้เทียบภาพเขียนและพระพุทธรูปโบราณของจีน กับประสบการณ์การนั่งสมาธิของสายวัดปากน้ำภาษีเจริญที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ดีเอ็มซี (DMC; Dhammakaya Media Channel) จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก
     
       กล่าวได้ว่าการนั่งสมาธิแบบเห็นองค์พระนั้น ถ่ายทอดมาจากอินเดียและปฏิบัติตามกันมานานมาแล้ว



Fig.source: http://gandharan.blogspot.co.nz/2009_09_01_archive.html
รูปสลักโพธิสัตว์มีองค์พระพุทธรูปกลางท้อง พุทธศตวรรษที่ 8-12,

ขุดพบที่อัฟกานิสถาน รูปสลักนี้บ่งชี้ว่าในยุคนั้นน่าจะมีการทำสมาธิที่เกี่ยวกับองค์พระที่กลางท้อง

Fig.source : Bhikkhu Dee ภาพแสดงพระพุทธเจ้าสององค์ภายในท้อง

ภาพแสดงการเห็นองค์พระผุดซ้อนจากตำแหน่งเหนือสะดือสองนิ้วมือ

ภาพองค์พระผุดซ้อนจากกลางกาย มองจากด้านบน แหล่งที่มา dmc.tv

 (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »