หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 6 : เอเชียอาคเนย์


2.มีการกล่าวถึง การทำสมาธิแบบ ธรรมกายจริงในคัมภีร์โบราณ

การอธิบายถึงธรรมกาย ดูเหมือนจะชัดเจนขึ้นในระดับของความรู้จากสมาธิ ว่าธรรมกายนั้นละเอียดยิ่ง บริสุทธิ์ยิ่ง จะเข้าถึงได้ก็ต้องชำระกิเลสที่ครอบคลุมอยู่ให้หมดสิ้นไปเสียก่อน นอกจาก เข้าถึงแล้วยังอาจจะ เป็นธรรมกายนั้นได้ด้วย
การปฏิบัติสมาธิภาวนาในคัมภีร์โยคาวจรใช้วิธีให้ความสำคัญกับดวงแก้ว และความสว่างภายใน มีการบำเพ็ญภาวนาว่า อรหํโยคาวจรที่สภาวะเข้านิโรธมีลักษณะเด่นชัดในส่วนของการหยุดหรือไม่มีกระแสลมหายใจ มีการกล่าวถึงทางเดินของจิตและกระบวนการบรรลุอริยมรรคอริยผลคล้ายคลึงกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
ดวงแก้ว

 แต่แตกต่างกันในรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมกายาทิมีความน่าสนใจที่มีการกล่าวถึงธรรมกายอย่างสัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกับการปฏิบัติ ดังเนื้อความในคัมภีร์พระธัมมกายาทิเป็นการพรรณนาถึงส่วนต่างๆ ของพระวรกายในพระพุทธองค์ว่าเป็นพระญาณหรือพระคุณต่างๆ และกล่าวว่าพุทธลักษณะเช่นนี้คือธรรมกาย ลักษณะการพรรณนาเช่นนี้ย่อมให้ความหมายที่เด่นชัดว่า ธรรมกายนั้นแตกต่างจากกายมนุษย์ธรรมดา มีความบริสุทธิ์ยิ่งในทุกส่วนของกาย อีกประการหนึ่ง การที่มังสจักขุไม่ปรากฏในธรรมกายแสดงให้เห็นว่าธรรมกายซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และการมีธรรมจักขุแสดงความเป็นธรรมกายอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือพระบาลีแจกแจงคุณสมบัติเฉพาะในรูปกายพระพุทธเจ้า แต่คัมภีร์สายปฏิบัติแสดงคุณสมบัติธรรมกายของพระพุทธเจ้า ดังนั้น รูปในที่นี้จึงมิใช่รูปกายที่เข้าใจกันทั่วไป แต่จะเข้าถึงได้หรือเป็นได้ด้วยพระญาณเท่านั้นการเข้าถึงธรรมกายด้วยพระญาณ ปรากฏในการพรรณนาพระญาณที่รู้แจ้งในความเป็นไปของธรรมะต่างๆ ในสัตว์โลกทั้งปวง กล่าวได้ว่าพระธรรมกายในคัมภีร์พระธัมมกายาทิทรงมีพระญาณที่ประกอบเป็นส่วนต่างๆของพระองค์ และทรงรู้แจ้งในสรรพสิ่งหรือทรงมีสัพพัญญุตญาณ คัมภีร์พระธัมมกายาทิมิได้ปฏิเสธโอกาสการเข้าถึงหรือความมีความเป็น สัพพัญญูพุทธภาวะของบุคคลใดๆ แต่กลับส่งเสริมให้ โยคาวจรบุตรได้ระลึกถึงพระธรรมกายเนืองๆ เพื่อความมีความเป็นสัพพัญญูพุทธภาวะนั้น การที่ระบุว่า ธรรมกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นกายที่ประกอบด้วยญาณรู้แจ้ง (มรรคญาณ ผลญาณ และวิมุตติญาณ) ยังเป็นแนวคิดหรือหลักการของเถรวาทโดยแท้
ในคัมภีร์เขมร ระบุกระบวนการปฏิบัติสมาธิโดยภาวนา สัมมา อะระหังการกำหนดจิตด้วยรัศมีสว่างสีต่างๆ เดินลงไปตามเส้นทางภายในกายแล้วไปหยุดนิ่ง ภาวนา ณ ตรงสะดือนั้นแล้วเห็นรัศมีเป็นดวงสีขาวใสสว่าง คัมภีร์เขมรกล่าวถึงการ หาดวงแก้วเมื่อพบแล้วจึงจะพาตนไปถึงนิพพานได้ จะเห็นพระรัตนตรัย เห็นดวงศีล เห็นพระอริยสงฆ์ ประทับนั่ง ณ ประตูนิพพานการเห็น ประตูนี้ย่อมแสดงว่ามีช่องทางที่จะเปิดไปสู่นิพพานพบพระพุทธเจ้าได้ในที่สุด
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

คัมภีร์จตุรารักขา ยืนยันว่า ในอดีตมีวิธีการปฏิบัติธรรมแบบวิชชาธรรมกายที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ค้นพบอยู่จริง คัมภีร์นี้ แม้จะแต่งด้วยบทกลอนสั้นๆ เพียง 32 บท แต่ก็สามารถสรุปเนื้อหาที่เป็นหัวใจการปฏิบัติธรรมที่สำคัญ คือ พุทธานุสสติ เมตตานุสสติ อสุภานุสสติ และมรณานุสสติ ไว้ด้วยกันอย่างครบถ้วนชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ร่องรอยวิชชาธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์จตุรารักขา ไม่มีความคลาดเคลื่อนจากคำสอนที่ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกบาลีแต่อย่างใด
สรุปจากทุกคัมภีร์ที่อ่านพบมาทั้งคันธาระ เอเชียกลาง จีน เอเชียอาคเนย์สามารถกล่าวได้ว่า มีการกล่าวถึงธรรมกายจริง และมีการปฏิบัติแบบธรรมกายจริงตั้งแต่ยุคดั้งเดิมแล้ว แต่ไม่ได้เหมือนกับหลักการพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ไปเสียทั้งหมด มีความแตกต่างกันอยู่ในรายละเอียด แต่ระบุได้ว่าสาระหลักคือมีการกล่าวถึงธรรมกาย มีการนั่งสมาธิแบบเห็นองค์พระจริง ในทางหนึ่งอาจจะผ่านจากคันธาระ เอเชียกลาง จีน สู่เอเชียอาคเนย์ ก็เป็นไปได้หรืออาจจะมาโดยทิศทางอื่นเช่นสายใต้ ผ่านมาทางศรีลังกา หรือสายอินเดียตะวันออก มาสู่สยาม ซึ่งประเด็นนี้ยังต้องศึกษาต่อไป งานข้างหน้าของคณะวิจัยชุดนี้ก็คือการสาวอดีตลงไปให้ลึกยิ่งกว่านี้ ว่าจะมีร่องรอยใดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักธรรมและการปฏิบัติหลงเหลืออยู่อีก ถึงแม้ว่า การ มีและ ไม่มีร่องรอยนั้น จะมิได้มีความสำคัญเท่ากับการมุ่งปฏิบัติด้วยตนเองของเราทั้งหลายเพื่อพิสูจน์องค์พระธรรมกายภายใน
                         (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 5 : เอเชียอาคเนย์

เอเชียอาคเนย์ โดยส่วนใหญ่หมายรวมถึงดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียทั้งหมด ภูมิประเทศทางทิศใต้ติดทะเล ทางเหนือติดผืนแผ่นดินใหญ่ มีประเทศที่ใหญ่กว่าคืออินเดียอยู่ทางทิศตะวันตกและจีนอยู่ทางทิศเหนือทั้งอินเดียและจีนมีความรุ่งเรืองทั้งทางกำลังทหารและศิลปวัฒนธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้รับอิทธิพลจากความเปลี่ยนแปลงในทั้งสองประเทศนี้อย่างยาวนาน แต่เนื่องจากประเด็นที่ศึกษาคือพุทธศาสนา อิทธิพลหลักจึงมาจากประเทศอินเดีย

จากงานวิจัยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งผู้วิจัยคือ ดร.กิจชัย ศึกษา จากคัมภีร์ 9 เรื่อง พระครูปลัดนายวรวัฒน์ 1 เรื่อง พระปอเหม่า 28 เรื่อง สุปราณี พณิชยพงศ์ 1 เรื่อง คัมภีร์ที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์เถรวาทในไทยและเขมร ส่วนคัมภีร์จตุรารักขาเผยแพร่อยู่ในเอเชียอาคเนย์โดยแพร่หลายในศรีลังกา งานที่ศึกษานี้มีคัมภีร์หนึ่งที่อุปถัมภ์โดยองค์พระมหากษัตริย์ยุคต้นรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 คือคัมภีร์ธัมมกายาทิ เก็บรักษาไว้ในพระอารามหลวงวัดพระเชตุพนฯอันแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อคัมภีร์นี้ คัมภีร์ที่ศึกษาทั้งหมดส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปฏิบัติภาวนา แต่ก็สามารถตอบปัญหางานวิจัยทั้งในเชิงหลักการและการปฏิบัติได้ดังนี้
 
คัมภีร์ลานเงินประดับทอง ภาษาขอม

คัมภีร์ธรรมกายาธิ อักษรขอม

คัมภีร์ธรรมกาย อักษรธรรมล้านนา


1. มีการกล่าวถึงธรรมกายจริงในคัมภีร์โบราณ
การวิเคราะห์คัมภีร์อักษรธรรมของ ดร.กิจชัยให้ผลว่าธรรมกายเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในสังคมชาวพุทธของเอเชียอาคเนย์เมื่อนับเนื่องด้วยอายุของโยคาวจรไปได้ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ธรรมกายเป็นที่รู้จักว่าประกอบขึ้นด้วยญาณรู้แจ้งและเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า แสดงว่าธรรมกาย เป็นที่รู้จักในสังคมชั้นสูงของสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

คัมภีร์โยคาวจรกล่าวถึงธรรมกายว่า ธรรมกายนี้เป็นธรรมกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสามารถ ถูกพบได้ในนิพพาน (การไปสู่นิพพานคือการได้พบพระพุทธเจ้า) สรีระของพระพุทธเจ้าประกอบขึ้นด้วยญาณต่างๆมีการกล่าวถึง เมืองนิพพานเรื่องของพระพุทธเจ้าหรือกายธรรมนี้มีความคล้ายคลึงกับคัมภีร์กระแสหลักดั้งเดิมสายสรรวาสติวาทและมหาสางฆิกะ ที่เรียกว่ามหายานยุคก่อนขยายความ แต่ก็สอดคล้องกับมหายานยุคหลังที่ถูกอรรถาธิบายต่อเติมไปมากแล้วในบางส่วนด้วย

คำว่า ดวงแก้ว และ แสงสว่างภายใน มีปรากฏบ่อยครั้งมาก อาจชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงกับคัมภีร์ ตถาคตครรภะอันเก่าแก่ ที่ว่าด้วยความบริสุทธิ์ที่เป็นรากเดิมแห่งชีวิตแต่ถูกกลบฝังไว้ด้วยกิเลส คำว่า ดวงแก้วที่ข้ามาชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างดวงแก้วกับ กายกายที่มาจากดวงสว่างที่บริสุทธิ์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์มีจิตดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ซึ่งอาจพ้องกับศัพท์ โพธิหรืออาจพ้องกับทฤษฎีตถาคตครรภะเช่นในคัมภีร์ศรีมาลาเทวีสูตรเมื่อมาแปดเปื้อนกับบาปธรรมจิตจึงหม่นหมอง ส่วนในคัมภีร์จตุรารักขาก็มีกล่าวถึงธรรมกาย
ตอนต่อไปจะกล่าวถึง การทำสมาธิแบบ “ธรรมกาย” ที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณแถบเอเชียอาคเนย์
                                        (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )

ปิดเทอมนี้ผมจะบวชสามเณร

     

     
      ปิดเทอมภาคฤดูร้อนปีนี้คึกคักด้วยบรรยากาศบรรพชาสามเณรล้านรูปทั่วผืนแผ่นดินไทย จึงขอนำบรรยากาศของจ.เลยมาฝากกัน

       ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนพุทธกาล อ.ภูเรือ จ.เลย งานนี้ได้นักบุญรุ่นจิ๋วแต่แจ๋ว ได้แก่ น้องอิคคิว และน้องบุ๊ค อดีตสามเณรที่เคยบวชมาช่วยชวนบวช ชวนไปชวนมา ก็พาเพื่อนมาสมัครบวชเป็นสามเณรได้ถึง 7 คนเลย



       น้องบุ๊ค หรือ ด.ช.กฤษณพงศ์  ดีผาย อยู่ชั้น ป.2 เคยมาบวชเป็นสามเณรเมื่อปีที่แล้ว     น้องบุ๊คชอบการเป็นสามเณรมากๆ ปีนี้ก็เลยอยากจะชวนเพื่อนๆให้มาบวชด้วยกันเยอะๆ  ซึ่งพี่บัวเรียม คุณแม่ของน้องบุ๊ค เปิดใจว่า “ปีที่แล้วที่พระอาจารย์มาชวน ท่านเอาภาพสามเณรเดินธุดงค์แบกกลดสะพายย่ามมาให้ดู เห็นแล้วรู้สึกปลื้มที่สุดเลย ก็เลยสนับสนุนให้น้องบุ๊คได้บวชบ้าง แล้ววันที่น้องบุ๊คไปบวช แม่ก็ปลื้มใจมากค่ะ แม่ร้องไห้ 3 รอบเลย ยิ่งวันบวชนะ..แม่นี่ร้องไม่หยุดเลยเพราะมันดีใจ”

คุณครูไพบูลย์  สีละอองครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านบุฮม
       
       คุณครูเล่าว่า “ปีที่แล้วผู้ปกครองประทับใจโครงการบรรพชาสามเณรมากนะครับ ตอนเป็นนาคครูอาจารย์ก็มาช่วยกันดูแลเด็กๆด้วยครับ แต่พอบวชแล้ว เราก็มอบให้พระอาจารย์ และพี่ๆวีสตาร์ดูแลต่อไป พระอาจารย์ท่านก็ควบคุมได้ดีมากๆเลย พอผู้ปกครองเขาเห็นว่าในโครงการมีพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยงคอยดูแล คอยพาปฏิบัติ ทั้งทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เขาก็ประทับใจ แล้วตอนที่พระอาจารย์พาสามเณรไปบิณฑบาต ผู้ปกครองเขาเห็นสามเณรมาก็ตื่นตัวกันใหญ่เลย ทั้งหมู่บ้านมีแต่รอยยิ้ม เป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่หมู่บ้านของเรามาก่อน
 

     บางบ้านเขาเตรียมอาหารไม่ทันก็ต้องบอกสามเณรว่า “รอหน่อยๆ ขอตักบาตรหน่อย ลุงๆป้าๆขอทำบุญด้วย” ผมเห็นอย่างนั้นก็ซึ้งใจ  จริงๆนะครับ..โครงการบวชเณรนี่ช่วยสังคมได้มากจริงๆ เพราะช่วงปิดเทอมปัญหาคือเด็กจะเข้าร้านเกมส์ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ครับ แล้วแถวบ้านเรามันติดน้ำโขง เขาก็จะไปซุกซนลงเล่นน้ำจนเป็นอันตราย บางทีก็ชวนกันลักเล็กขโมยน้อย แต่พอปิดเทอมเราส่งพวกเขามาบวช ถึงจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ธรรมะที่พระอาจารย์สอน สามารถกล่อมเกลาจิตใจลูกๆหลานๆในหมู่บ้านได้ดีมากๆ ได้รับผลดีแบบเกินคาด ทำให้ปัญหาต่างๆ ก็ลดลงด้วยครับ แล้วที่ดีมากๆอีกอย่างหนึ่ง คือ พอลูกหลานมาบวชอยู่วัด ผู้ปกครองก็พากันเข้าวัด ก็ได้มาทำบุญกันครับ ได้มาใกล้ชิดพระพุทธศาสนา มีแต่ผลดีทั้งนั้นเลยครับ แล้วผู้ปกครองนี่พอจบโครงการปั๊บก็ประทับใจ รีบมาบอกผมเลยครับว่า ครู..ขอปีหน้าเอาอีกนะ ผมจะส่งลูกส่งหลานมาบวชอีกครับ” และสำหรับโครงการบรรพชาสามเณรล้านรูป ทางโรงเรียนบ้านบุฮม ก็เตรียมส่งนักเรียนชายมาบวชหมดยกโรงเรียนเลย

       ปิดเทอมนี้ทุกวัดทั่วไทย สว่างไสวเพราะการฟื้นฟูศีลธรรมจากการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน

(ข้อมูลจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา)

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 4 : จีน

       จากคันธาระและเอเชียกลางมาสู่จีน พุทธศาสนาอาจจะเข้ามาสู่จีนตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ซึ่งอาจจะย้อนกลับไปได้ถึงราว พ.ศ. 200-300 อิทธิพลของพุทธศาสนามีต่อลัทธิเต๋าของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการนั่งสมาธิ ซึ่งแสดงว่าการปฏิบัติธรรมแบบพุทธเป็นที่นิยมกันมากและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง
     
       จากการศึกษาของพระเกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ ใน 7 คัมภีร์ที่ศึกษาพบว่า การปฏิบัติธรรมของจีนในยุคต้นเป็นแบบการเห็นองค์พระ และระลึกถึงองค์พระที่ศูนย์กลางกาย แล้วเห็นองค์พระผุดซ้อนออกมาจากกลางนาภีขององค์พระแต่ละองค์ มีการเห็นกายแก้ว เห็นแสงสว่างในกลางกาย ในคัมภีร์กล่าวว่า เห็นดวงสว่างผุดออกมาจากกลางกายนั้น และให้ผู้ปฏิบัตินึกพระอามิตายุสในกลางดวงสว่างกลางกายนั้น
     
       ในอานาปานสมฤติสูตร ระบุวิธีภาวนาถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นวิธีเก่าแก่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งพระภิกษุอันซื่อกาวได้นำมาแปลในสมัยของท่าน การนั่งสมาธิแบบตามลม แล้วลมหยุด จิตตั้งที่ศูนย์กลางกาย สังเกตดูนิ่งๆ เฉยๆ จิตก็จะตกศูนย์ถึงความบริสุทธิ์ การนั่งสมาธิแบบตรึกนึกถึงองค์พระ การเห็นแสงสว่าง เห็นกายแก้ว สอดคล้องกับคัมภีร์ดั้งเดิมในคันธาระและเอเชียกลาง แต่การปฏิบัติแบบจีนยังอธิบายลึกซึ้งลงไปยิ่งกว่า คือกล่าวถึงศูนย์กลางกายและองค์พระผุดซ้อนจากกลางกายนั้น ทั้งหมดนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับวิธีปฏิบัติธรรมของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งพระเกียรติศักดิ์ได้เทียบภาพเขียนและพระพุทธรูปโบราณของจีน กับประสบการณ์การนั่งสมาธิของสายวัดปากน้ำภาษีเจริญที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ดีเอ็มซี (DMC; Dhammakaya Media Channel) จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก
     
       กล่าวได้ว่าการนั่งสมาธิแบบเห็นองค์พระนั้น ถ่ายทอดมาจากอินเดียและปฏิบัติตามกันมานานมาแล้ว



Fig.source: http://gandharan.blogspot.co.nz/2009_09_01_archive.html
รูปสลักโพธิสัตว์มีองค์พระพุทธรูปกลางท้อง พุทธศตวรรษที่ 8-12,

ขุดพบที่อัฟกานิสถาน รูปสลักนี้บ่งชี้ว่าในยุคนั้นน่าจะมีการทำสมาธิที่เกี่ยวกับองค์พระที่กลางท้อง

Fig.source : Bhikkhu Dee ภาพแสดงพระพุทธเจ้าสององค์ภายในท้อง

ภาพแสดงการเห็นองค์พระผุดซ้อนจากตำแหน่งเหนือสะดือสองนิ้วมือ

ภาพองค์พระผุดซ้อนจากกลางกาย มองจากด้านบน แหล่งที่มา dmc.tv

 (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )

Mr.Andreas Jansen's view of Phra Dhammakaya temple

Mr.Andreas Jansen's view of Phra Dhammakaya temple
As a person from the west, Buddhism was at first an odd concept to me. I read a few books about the subject and thought I knew it well enough, when I came across the Dhammakaya temple. The Dhammakaya temple was odd to me because of its massive size and congregation. The large-scale ceremonies and meditation sessions with ranks of people wearing white weren’t what I imagined when I had read books about Buddhism. Nevertheless, being the curious person that I am, I learned. I attended ceremonies, spoke to monks and temple goers, read about the history of the temple, followed the news, ordained as a monk at this temple, and began practicing its meditation method – Dhammakaya meditation.
This meditation method, taught by Luang Pu Wat Paknam, is the main idea that the temple is trying to spread. I have had some good meditation experience with Dhammakaya meditation which makes me believe that it’s genuine and effective. It makes me a more patient, happier, healthier and wiser person.
Another key figure in temple history was the master nun Chand Khonnokyoong or Khun Yai Chand, whose meditation ability was ‘second to none’. I respect her ways a lot and she is a great inspiration for me to keep things clean, tidy and organized. I have learned first hand that tidying up your behavior and environment is closely linked with purifying the mind and progressing one’s meditation experience.
Luang Phaw Dhammajayo is the temple’s abbot and is well-loved by all temple goers. At first I couldn’t understand why this was so. Now I know it’s due to his extraordinary kindness and meditation ability, and no small amount of humor. I have learned a lot of useful Dhamma from Luang Phaw and the media produced by the temple.
Overall, now I see that the temple is genuinely Buddhist, and it is expanding so much because of its extraordinary goal: fostering world peace through inner peace. For all my knowledge of the world, I think that in the end, the future of the world depends on the quality and happiness of each person’s mind.
As the Buddha once said, we shouldn’t accept something as fact without verifying it for ourselves first. I suggest that anyone curious about Dhammakaya temple should visit it to learn more first hand.

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 3 : คันธาระและเอเชียกลาง

จากตอนที่ 2 ได้พบหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์ต่างๆ ตอนที่ 3 นี้จะขยายความเพิ่มเติมให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องสอดคล้องของคัมภีร์ในคันธาระและเอเชียกลางกับในปัจจุบัน

หลักฐานธรรมกายกับความสอดคล้องกับวิชชาธรรมกาย มี 2 ด้าน

1. ความสอดคล้องในแง่ของหลักธรรม

พบได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคัมภีร์ ทั้งในกลุ่มคัมภีร์ภาษาคานธารีและสันสกฤตของหินยาน และในกลุ่มคัมภีร์ของมหายาน คัมภีร์ชุดที่เก่าแก่ที่สุดที่พบหลักฐานธรรมกายในท้องที่นี้คือ กลุ่มคัมภีร์ที่จารึกในภาษาคานธารี พบใน
เขตพื้นที่คันธาระ ส่วนใหญ่เป็นพระสูตรหรือคัมภีร์ประเภทนิทเทสของหินยานซึ่งคาดว่าเป็นนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งที่แยกออกมาจากเถรวาทเนื้อหาคัมภีร์ที่พบมีความคล้ายคลึงกันกับที่พบในพระสูตรบาลี เป็นหลักฐานธรรมกายในระดับของหลักธรรมทั่วไปและหลักปฏิบัติ เช่น
-- นิพพานธาตุไม่มีความชรา
-- ต้อง ทั้งรู้ ทั้งเห็นความเป็นจริงของขันธ์5 จึงจะกำจัดกิเลสได้
-- การมีกัลยาณมิตรและมีศีลบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานในการบ่มเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติให้แก่รอบ
-- การเจริญเมตตามีอานิสงส์มาก
-- ฯลฯ

หลักธรรมดังกล่าวมานี้ ถือได้ว่าสอดคล้องตรงกันกับหลักการของวิชชาธรรมกายทั้งหมด เพียงแต่ไม่ได้กล่าวถึงประสบการณ์ภายในในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น และเป็นตัวบ่งชี้ว่าในคันธาระมีคำสอนของพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่
ไปถึงตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ส่วนในคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่พบหลักฐานธรรมกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์มหายานนั้น พบความสอดคล้องในเชิงหลักธรรมด้วยเช่นกัน ดังเช่นในประเด็นต่อไปนี้
-- หลักการที่ว่า ในตัวทุกคนมีธาตุแห่งความเป็นพุทธะอยู่
-- พระพุทธองค์มีธรรมเป็นกาย พึงเห็นพระองค์โดยธรรม มิใช่โดยรูปกาย
-- พระพุทธองค์ทรงประกอบด้วยพระรูปกายและพระธรรมกาย
-- พระพุทธคุณยิ่งใหญ่กว่าคุณของพระอรหันต์
-- พระพุทธองค์ทรงนำสัตว์โลกออกจากวัฏสงสารด้วยพระธรรมกาย
-- พระธรรมกายเป็นส่วนหนึ่งของการตรัสรู้พระโพธิญาณ
-- พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีจำนวนมากเหมือนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา
-- การเข้าไปในกลาง แล้วเห็นพระพุทธเจ้า อัตภาพแห่งธรรม
-- ฯลฯ
หลักการที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มหายานเหล่านี้ ส่วนมากมักไม่มีกล่าวไว้ในพระสูตรหินยาน จึงนับว่าเป็นจุดเด่นของพระสูตรมหายานในการแสดงหลักการที่ชัดเจนเกี่ยวกับธรรมกายและการปฏิบัติ แต่กระนั้นก็ตามเมื่อศึกษาพระสูตรมหายานส่วนใหญ่ทั้งพระสูตรแล้ว ก็มักจะพบอะไรบางอย่างที่เพิ่มเติมเข้ามาด้วยซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของวิชชาธรรมกายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมองในภาพรวมทั้งหมดแล้ว หลักฐานธรรมกายที่พบในพระสูตรมหายาน จึงมักเป็นความสอดคล้องเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่เด่นชัดและตรงกันกับหลักการวิชชาธรรมกายมากที่สุดคือ หลักการตถาคตครรภะ ที่กล่าวว่า ในตัวมนุษย์ทุกคนมีพุทธภาวะอยู่ภายในแต่ถูกบดบังไว้ด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จะเข้าถึงได้ด้วยการฝึกฝนชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นการบ่งบอกถึงศักยภาพของมนุษย์ว่า สามารถฝึกฝนพัฒนาตนเองให้ถึงจุดแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ ซึ่งในคัมภีร์จากคันธาระและเอเชียกลาง พบอยู่ใน 2 พระสูตร คือ ศรีมาลาเทวีสิหนาทสูตร และมหาปรินิรวาณสูตร ซึ่งถือว่ามีเนื้อหาคำสอนสอดคล้องกันกับหลักการของวิชชาธรรมกายโดยตรง ต่างกันแต่เพียงเนื้อเรื่องที่แต่งเติมเข้ามาประกอบเพื่อถ่ายทอดคำสอนเท่านั้น

2. ความสอดคล้องในระดับของประสบการณ์ภายใน

คัมภีร์ที่พบในคันธาระและเอเชียกลางบางฉบับยังมีเนื้อหาที่แสดงความสอดคล้องกับวิชชาธรรมกายในแง่ของประสบการณ์ภายในจากธรรมปฏิบัติอีกด้วย นอกจากคู่มือปฏิบัติธรรมที่แสดงรายละเอียดวิธีการปฏิบัติและประสบการณ์ภายในโดยตรงแล้ว ยังพบในพระสูตรมหายานบางกลุ่มที่นิยมกล่าวถึงประสบการณ์ภายในในระดับของการเห็นไว้ด้วยเช่นกัน ความสอดคล้องในระดับประสบการณ์ในการปฏิบัติที่เด่นชัดที่สุดจากคัมภีร์ในคันธาระและเอเชียกลางคือ การเห็นพระนับว่าสอดคล้องกับหลักการของวิชชาธรรมกายโดยตรง ส่วนตำแหน่งของการวางใจกับการเห็นพระนั้น บ้างก็เห็นเหมือนมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า บ้างก็ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่เห็นโดยตรง ส่วนในคัมภีร์โยคาจาร กล่าวถึงการวางใจที่ศีรษะ (กระหม่อม) ลักษณะที่บรรยายเหมือนการมองเห็นภาพจากมุมบน และยังมีการกล่าวถึงการรวมตัวกันของกระแสแก้วใสจากศีรษะและจากสะดือ ที่ทำให้เกิด การหยุดนิ่งที่เป็นแก้ว




 (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )





  





ผู้มีความเที่ยงธรรม

เรื่องราวในสมัยพุทธกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังคงนำมาให้ข้อคิดกับทุกคนได้ทุกยุคสมัย เพราะกิเลสของมนุษย์เรายังคงตัวเดิม โลภ โกรธ หลง เหมือนพระราชาและพนักงานตีราคาในเรื่องนี้ ตัวเองมีอคติ 4 คือ ความลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว อยู่ในใจ การทำหน้าที่จึงไม่สมบูรณ์