หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอนที่ 3 : คันธาระและเอเชียกลาง

จากตอนที่ 2 ได้พบหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์ต่างๆ ตอนที่ 3 นี้จะขยายความเพิ่มเติมให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องสอดคล้องของคัมภีร์ในคันธาระและเอเชียกลางกับในปัจจุบัน

หลักฐานธรรมกายกับความสอดคล้องกับวิชชาธรรมกาย มี 2 ด้าน

1. ความสอดคล้องในแง่ของหลักธรรม

พบได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคัมภีร์ ทั้งในกลุ่มคัมภีร์ภาษาคานธารีและสันสกฤตของหินยาน และในกลุ่มคัมภีร์ของมหายาน คัมภีร์ชุดที่เก่าแก่ที่สุดที่พบหลักฐานธรรมกายในท้องที่นี้คือ กลุ่มคัมภีร์ที่จารึกในภาษาคานธารี พบใน
เขตพื้นที่คันธาระ ส่วนใหญ่เป็นพระสูตรหรือคัมภีร์ประเภทนิทเทสของหินยานซึ่งคาดว่าเป็นนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งที่แยกออกมาจากเถรวาทเนื้อหาคัมภีร์ที่พบมีความคล้ายคลึงกันกับที่พบในพระสูตรบาลี เป็นหลักฐานธรรมกายในระดับของหลักธรรมทั่วไปและหลักปฏิบัติ เช่น
-- นิพพานธาตุไม่มีความชรา
-- ต้อง ทั้งรู้ ทั้งเห็นความเป็นจริงของขันธ์5 จึงจะกำจัดกิเลสได้
-- การมีกัลยาณมิตรและมีศีลบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานในการบ่มเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติให้แก่รอบ
-- การเจริญเมตตามีอานิสงส์มาก
-- ฯลฯ

หลักธรรมดังกล่าวมานี้ ถือได้ว่าสอดคล้องตรงกันกับหลักการของวิชชาธรรมกายทั้งหมด เพียงแต่ไม่ได้กล่าวถึงประสบการณ์ภายในในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น และเป็นตัวบ่งชี้ว่าในคันธาระมีคำสอนของพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่
ไปถึงตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ส่วนในคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่พบหลักฐานธรรมกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์มหายานนั้น พบความสอดคล้องในเชิงหลักธรรมด้วยเช่นกัน ดังเช่นในประเด็นต่อไปนี้
-- หลักการที่ว่า ในตัวทุกคนมีธาตุแห่งความเป็นพุทธะอยู่
-- พระพุทธองค์มีธรรมเป็นกาย พึงเห็นพระองค์โดยธรรม มิใช่โดยรูปกาย
-- พระพุทธองค์ทรงประกอบด้วยพระรูปกายและพระธรรมกาย
-- พระพุทธคุณยิ่งใหญ่กว่าคุณของพระอรหันต์
-- พระพุทธองค์ทรงนำสัตว์โลกออกจากวัฏสงสารด้วยพระธรรมกาย
-- พระธรรมกายเป็นส่วนหนึ่งของการตรัสรู้พระโพธิญาณ
-- พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีจำนวนมากเหมือนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา
-- การเข้าไปในกลาง แล้วเห็นพระพุทธเจ้า อัตภาพแห่งธรรม
-- ฯลฯ
หลักการที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มหายานเหล่านี้ ส่วนมากมักไม่มีกล่าวไว้ในพระสูตรหินยาน จึงนับว่าเป็นจุดเด่นของพระสูตรมหายานในการแสดงหลักการที่ชัดเจนเกี่ยวกับธรรมกายและการปฏิบัติ แต่กระนั้นก็ตามเมื่อศึกษาพระสูตรมหายานส่วนใหญ่ทั้งพระสูตรแล้ว ก็มักจะพบอะไรบางอย่างที่เพิ่มเติมเข้ามาด้วยซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของวิชชาธรรมกายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมองในภาพรวมทั้งหมดแล้ว หลักฐานธรรมกายที่พบในพระสูตรมหายาน จึงมักเป็นความสอดคล้องเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่เด่นชัดและตรงกันกับหลักการวิชชาธรรมกายมากที่สุดคือ หลักการตถาคตครรภะ ที่กล่าวว่า ในตัวมนุษย์ทุกคนมีพุทธภาวะอยู่ภายในแต่ถูกบดบังไว้ด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จะเข้าถึงได้ด้วยการฝึกฝนชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นการบ่งบอกถึงศักยภาพของมนุษย์ว่า สามารถฝึกฝนพัฒนาตนเองให้ถึงจุดแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ ซึ่งในคัมภีร์จากคันธาระและเอเชียกลาง พบอยู่ใน 2 พระสูตร คือ ศรีมาลาเทวีสิหนาทสูตร และมหาปรินิรวาณสูตร ซึ่งถือว่ามีเนื้อหาคำสอนสอดคล้องกันกับหลักการของวิชชาธรรมกายโดยตรง ต่างกันแต่เพียงเนื้อเรื่องที่แต่งเติมเข้ามาประกอบเพื่อถ่ายทอดคำสอนเท่านั้น

2. ความสอดคล้องในระดับของประสบการณ์ภายใน

คัมภีร์ที่พบในคันธาระและเอเชียกลางบางฉบับยังมีเนื้อหาที่แสดงความสอดคล้องกับวิชชาธรรมกายในแง่ของประสบการณ์ภายในจากธรรมปฏิบัติอีกด้วย นอกจากคู่มือปฏิบัติธรรมที่แสดงรายละเอียดวิธีการปฏิบัติและประสบการณ์ภายในโดยตรงแล้ว ยังพบในพระสูตรมหายานบางกลุ่มที่นิยมกล่าวถึงประสบการณ์ภายในในระดับของการเห็นไว้ด้วยเช่นกัน ความสอดคล้องในระดับประสบการณ์ในการปฏิบัติที่เด่นชัดที่สุดจากคัมภีร์ในคันธาระและเอเชียกลางคือ การเห็นพระนับว่าสอดคล้องกับหลักการของวิชชาธรรมกายโดยตรง ส่วนตำแหน่งของการวางใจกับการเห็นพระนั้น บ้างก็เห็นเหมือนมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า บ้างก็ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่เห็นโดยตรง ส่วนในคัมภีร์โยคาจาร กล่าวถึงการวางใจที่ศีรษะ (กระหม่อม) ลักษณะที่บรรยายเหมือนการมองเห็นภาพจากมุมบน และยังมีการกล่าวถึงการรวมตัวกันของกระแสแก้วใสจากศีรษะและจากสะดือ ที่ทำให้เกิด การหยุดนิ่งที่เป็นแก้ว




 (ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )





  





Share this

Related Posts

Previous
Next Post »