2.มีการกล่าวถึง การทำสมาธิแบบ “ธรรมกาย” จริงในคัมภีร์โบราณ
การอธิบายถึงธรรมกาย
ดูเหมือนจะชัดเจนขึ้นในระดับของความรู้จากสมาธิ ว่าธรรมกายนั้นละเอียดยิ่ง บริสุทธิ์ยิ่ง
จะเข้าถึงได้ก็ต้องชำระกิเลสที่ครอบคลุมอยู่ให้หมดสิ้นไปเสียก่อน นอกจาก “เข้าถึง”
แล้วยังอาจจะ
“เป็นธรรมกาย” นั้นได้ด้วย
การปฏิบัติสมาธิภาวนาในคัมภีร์โยคาวจรใช้วิธีให้ความสำคัญกับดวงแก้ว
และความสว่างภายใน มีการบำเพ็ญภาวนาว่า “อรหํ” โยคาวจรที่สภาวะเข้านิโรธมีลักษณะเด่นชัดในส่วนของการหยุดหรือไม่มีกระแสลมหายใจ
มีการกล่าวถึงทางเดินของจิตและกระบวนการบรรลุอริยมรรคอริยผลคล้ายคลึงกับพระมงคลเทพมุนี (สด
จนฺทสโร)
แต่แตกต่างกันในรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมกายาทิมีความน่าสนใจที่มีการกล่าวถึงธรรมกายอย่างสัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกับการปฏิบัติ ดังเนื้อความในคัมภีร์พระธัมมกายาทิเป็นการพรรณนาถึงส่วนต่างๆ ของพระวรกายในพระพุทธองค์ว่าเป็นพระญาณหรือพระคุณต่างๆ และกล่าวว่าพุทธลักษณะเช่นนี้คือธรรมกาย ลักษณะการพรรณนาเช่นนี้ย่อมให้ความหมายที่เด่นชัดว่า ธรรมกายนั้นแตกต่างจากกายมนุษย์ธรรมดา มีความบริสุทธิ์ยิ่งในทุกส่วนของกาย อีกประการหนึ่ง การที่มังสจักขุไม่ปรากฏในธรรมกายแสดงให้เห็นว่าธรรมกายซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และการมีธรรมจักขุแสดงความเป็นธรรมกายอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือพระบาลีแจกแจงคุณสมบัติเฉพาะในรูปกายพระพุทธเจ้า แต่คัมภีร์สายปฏิบัติแสดงคุณสมบัติธรรมกายของพระพุทธเจ้า ดังนั้น “รูป” ในที่นี้จึงมิใช่รูปกายที่เข้าใจกันทั่วไป แต่จะเข้าถึงได้หรือเป็นได้ด้วยพระญาณเท่านั้นการเข้าถึงธรรมกายด้วยพระญาณ ปรากฏในการพรรณนาพระญาณที่รู้แจ้งในความเป็นไปของธรรมะต่างๆ ในสัตว์โลกทั้งปวง กล่าวได้ว่าพระธรรมกายในคัมภีร์พระธัมมกายาทิทรงมีพระญาณที่ประกอบเป็นส่วนต่างๆของพระองค์ และทรงรู้แจ้งในสรรพสิ่งหรือทรงมีสัพพัญญุตญาณ คัมภีร์พระธัมมกายาทิมิได้ปฏิเสธโอกาสการเข้าถึงหรือความมีความเป็น “สัพพัญญูพุทธภาวะ” ของบุคคลใดๆ แต่กลับส่งเสริมให้ “โยคาวจรบุตร” ได้ระลึกถึงพระธรรมกายเนืองๆ เพื่อความมีความเป็น“สัพพัญญูพุทธภาวะ” นั้น การที่ระบุว่า ธรรมกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นกายที่ประกอบด้วยญาณรู้แจ้ง (มรรคญาณ ผลญาณ และวิมุตติญาณ) ยังเป็นแนวคิดหรือหลักการของเถรวาทโดยแท้
![]() |
ดวงแก้ว |
แต่แตกต่างกันในรายละเอียดในคัมภีร์ธัมมกายาทิมีความน่าสนใจที่มีการกล่าวถึงธรรมกายอย่างสัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกับการปฏิบัติ ดังเนื้อความในคัมภีร์พระธัมมกายาทิเป็นการพรรณนาถึงส่วนต่างๆ ของพระวรกายในพระพุทธองค์ว่าเป็นพระญาณหรือพระคุณต่างๆ และกล่าวว่าพุทธลักษณะเช่นนี้คือธรรมกาย ลักษณะการพรรณนาเช่นนี้ย่อมให้ความหมายที่เด่นชัดว่า ธรรมกายนั้นแตกต่างจากกายมนุษย์ธรรมดา มีความบริสุทธิ์ยิ่งในทุกส่วนของกาย อีกประการหนึ่ง การที่มังสจักขุไม่ปรากฏในธรรมกายแสดงให้เห็นว่าธรรมกายซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และการมีธรรมจักขุแสดงความเป็นธรรมกายอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือพระบาลีแจกแจงคุณสมบัติเฉพาะในรูปกายพระพุทธเจ้า แต่คัมภีร์สายปฏิบัติแสดงคุณสมบัติธรรมกายของพระพุทธเจ้า ดังนั้น “รูป” ในที่นี้จึงมิใช่รูปกายที่เข้าใจกันทั่วไป แต่จะเข้าถึงได้หรือเป็นได้ด้วยพระญาณเท่านั้นการเข้าถึงธรรมกายด้วยพระญาณ ปรากฏในการพรรณนาพระญาณที่รู้แจ้งในความเป็นไปของธรรมะต่างๆ ในสัตว์โลกทั้งปวง กล่าวได้ว่าพระธรรมกายในคัมภีร์พระธัมมกายาทิทรงมีพระญาณที่ประกอบเป็นส่วนต่างๆของพระองค์ และทรงรู้แจ้งในสรรพสิ่งหรือทรงมีสัพพัญญุตญาณ คัมภีร์พระธัมมกายาทิมิได้ปฏิเสธโอกาสการเข้าถึงหรือความมีความเป็น “สัพพัญญูพุทธภาวะ” ของบุคคลใดๆ แต่กลับส่งเสริมให้ “โยคาวจรบุตร” ได้ระลึกถึงพระธรรมกายเนืองๆ เพื่อความมีความเป็น“สัพพัญญูพุทธภาวะ” นั้น การที่ระบุว่า ธรรมกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นกายที่ประกอบด้วยญาณรู้แจ้ง (มรรคญาณ ผลญาณ และวิมุตติญาณ) ยังเป็นแนวคิดหรือหลักการของเถรวาทโดยแท้
ในคัมภีร์เขมร
ระบุกระบวนการปฏิบัติสมาธิโดยภาวนา สัมมา อะระหังการกำหนดจิตด้วยรัศมีสว่างสีต่างๆ
เดินลงไปตามเส้นทางภายในกายแล้วไปหยุดนิ่ง “ภาวนา ณ ตรงสะดือนั้นแล้วเห็นรัศมีเป็นดวงสีขาวใสสว่าง” คัมภีร์เขมรกล่าวถึงการ
“หาดวงแก้ว” เมื่อพบแล้วจึงจะพาตนไปถึงนิพพานได้ จะเห็นพระรัตนตรัย
เห็นดวงศีล เห็นพระอริยสงฆ์ “ประทับนั่ง ณ ประตูนิพพาน” การเห็น “ประตู”
นี้ย่อมแสดงว่ามีช่องทางที่จะเปิดไปสู่นิพพานพบพระพุทธเจ้าได้ในที่สุด
![]() |
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) |
คัมภีร์จตุรารักขา
ยืนยันว่า ในอดีตมีวิธีการปฏิบัติธรรมแบบวิชชาธรรมกายที่พระมงคลเทพมุนี (สด
จนฺทสโร) ได้ค้นพบอยู่จริง คัมภีร์นี้ แม้จะแต่งด้วยบทกลอนสั้นๆ
เพียง 32 บท แต่ก็สามารถสรุปเนื้อหาที่เป็นหัวใจการปฏิบัติธรรมที่สำคัญ
คือ พุทธานุสสติ เมตตานุสสติ อสุภานุสสติ และมรณานุสสติ ไว้ด้วยกันอย่างครบถ้วนชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ร่องรอยวิชชาธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์จตุรารักขา ไม่มีความคลาดเคลื่อนจากคำสอนที่ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกบาลีแต่อย่างใด
สรุปจากทุกคัมภีร์ที่อ่านพบมาทั้งคันธาระ
เอเชียกลาง จีน เอเชียอาคเนย์สามารถกล่าวได้ว่า มีการกล่าวถึงธรรมกายจริง และมีการปฏิบัติแบบธรรมกายจริงตั้งแต่ยุคดั้งเดิมแล้ว
แต่ไม่ได้เหมือนกับหลักการพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ไปเสียทั้งหมด มีความแตกต่างกันอยู่ในรายละเอียด แต่ระบุได้ว่าสาระหลักคือมีการกล่าวถึงธรรมกาย
มีการนั่งสมาธิแบบเห็นองค์พระจริง ในทางหนึ่งอาจจะผ่านจากคันธาระ เอเชียกลาง จีน สู่เอเชียอาคเนย์
ก็เป็นไปได้หรืออาจจะมาโดยทิศทางอื่นเช่นสายใต้ ผ่านมาทางศรีลังกา หรือสายอินเดียตะวันออก
มาสู่สยาม ซึ่งประเด็นนี้ยังต้องศึกษาต่อไป งานข้างหน้าของคณะวิจัยชุดนี้ก็คือการสาวอดีตลงไปให้ลึกยิ่งกว่านี้
ว่าจะมีร่องรอยใดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักธรรมและการปฏิบัติหลงเหลืออยู่อีก ถึงแม้ว่า
การ “มี” และ “ไม่มี” ร่องรอยนั้น จะมิได้มีความสำคัญเท่ากับการมุ่งปฏิบัติด้วยตนเองของเราทั้งหลายเพื่อพิสูจน์องค์พระธรรมกายภายใน
(ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )
(ข้อมูลจากสถาบัน DIRI และ หนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )
1 comments:
commentsvegus168
Replyนั่งสมาธิดีมากครับ