พระพุทธศาสนาในคันธาระและเอเชียกลาง
โดยสภาพทางภูมิศาสตร์
คันธาระนับเป็นปากประตูของอินเดียในการที่จะเปิดตัวออกไปสู่โลกกว้างผ่านเส้นทางสายไหม
จึงเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนศิลปวิทยาการ วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนศาสนาของหลายเชื้อชาติที่มีการคมนาคมบนเส้นทางแห่งนี้
การศึกษาทางประวัติศาสตร์บ่งบอกถึงการเดินทางของพระพุทธศาสนาเข้าไปสู่ดินแดนที่เรียกว่า
กัศมีระ-คันธาระ หรือ คันธาระโบราณหลายระลอกตั้งแต่พุทธกาลเป็นต้นมา รวมถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอินเดียผ่านกัศมีระ-คันธาระไปสู่เอเชียกลางและประเทศจีน
ซึ่งหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า น่าจะเป็นการเดินทางไปกับเส้นทางสายการค้าทางไกลมากกว่าที่จะเป็นการแผ่ขยายออกไปตามลำดับ
(Neelis 2000: 919-21)
อย่างในบันทึกการเดินทางของพระภิกษุจีน
สวนจ้าง
(หรือรู้จักกันว่าพระถังซัมจั๋ง) ระบุว่า พระพุทธศาสนาเดินทางเข้ามาสู่ดินแดนคันธาระและเอเชียกลางโดยพ่อค้า
2 ท่านคือ ตปุสสะและภัลลิกะ อุบาสกสองคนแรกในพระพุทธศาสนา ผู้ถวายภัตตาหารมื้อแรกแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งสองท่านเป็นชาวแบคเทรีย (Dietz
2007: 59-60)
นอกจากนี้ อรรถกถาธาตุวิภังคสูตรยังกล่าวถึงเรื่องราวของพระเจ้าปุกกุสาติผู้เป็นกษัตริย์ของแคว้นคันธาระในนครตักศิลา ได้รับธรรบรรณาการจากพระเจ้าพิมพิสารที่เขียนจารึกบนแผ่นทองคำพรรณนาคุณของพระรัตนตรัย และการทำสมาธิแบบอานาปานสติจึงเกิดพระปีติแรงกล้าในข่าวการบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย และทรงปฏิบัติธรรมด้วยตนเองตามวิธีการที่พระเจ้าพิมพิสารจารึกไว้ในแผ่นทองคำนั้นจนได้ฌานสมาบัติ จึงสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชอุทิศต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นอกจากนี้ อรรถกถาธาตุวิภังคสูตรยังกล่าวถึงเรื่องราวของพระเจ้าปุกกุสาติผู้เป็นกษัตริย์ของแคว้นคันธาระในนครตักศิลา ได้รับธรรบรรณาการจากพระเจ้าพิมพิสารที่เขียนจารึกบนแผ่นทองคำพรรณนาคุณของพระรัตนตรัย และการทำสมาธิแบบอานาปานสติจึงเกิดพระปีติแรงกล้าในข่าวการบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย และทรงปฏิบัติธรรมด้วยตนเองตามวิธีการที่พระเจ้าพิมพิสารจารึกไว้ในแผ่นทองคำนั้นจนได้ฌานสมาบัติ จึงสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชอุทิศต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในยุคสมัยพระเจ้ากนิษกะ มีการจัดการสังคยานาครั้งที่ 4 จัดขึ้นที่ กุณฑลวันมหาวิหาร ในกรุงชลันธระ กัศมีระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคันธาระ โบราณ ทรงโปรดให้สร้างวิหาร สถูป เจดีย์ ให้เจาะถ้ำตามหน้าผาของหุบเขาบามิยัน และแกะสลักพระพุทธรูปหลายองค์
หลักฐานธรรมกายในคันธาระและเอเชียกลาง
คัมภีร์ที่ศึกษาขุดค้นพบในคันธาระ 5 แหล่งใหญ่ๆ ได้แก่ ฮัดดา ประเทศอัฟกานิสถาน บาจัวร์ ประเทศปากีสถาน บามิยัน
ประเทศอัฟกานิสถาน กิลกิต ประเทศปากีสถาน และแบคเทรีย ในตอนบนของประเทศอัฟกานิสถาน
และในเอเชียกลาง จุดค้นพบคัมภีร์อาจแบ่งได้เป็น 2 เขตใหญ่ คือ
ตอนเหนือ และตอนใต้ของทะเลทรายทากลามากัน โดยทางตอนใต้ของทะเลทรายทากลามากัน พบคัมภีร์ใน
2 จุดหลักคือ โขตาน และนิยะ ส่วนทางตอนเหนือและตะวันออกของทะเลทรายทากลามากัน
พบคัมภีร์ใน 4 จุดหลัก ได้แก่ คิซิล กุชา เทอร์ฟานและตุนฮวง จากการสำรวจเนื้อหาคัมภีร์ดังที่แจกแจงไว้ข้างต้นแล้วพบว่า
คัมภีร์ที่เก่าที่สุดอยู่ในกลุ่มของ สปลิต คอลเลคชัน (Split Collection) ประเทศเยอรมนี เขียนด้วยภาษาคานธารี อักษรขโรษฐี จำนวน 5 ชิ้น จารึกบนเปลือกไม้เบิร์ช ม้วนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในราว พ.ศ. 296-434 ขณะที่จารึกพระเจ้าอโศก
เริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 226 ภาษาปรากฤต
อักษรพราหมี ดังนั้นสปลิต คอลเลคชัน (Split Collection)
จึงน่าจะมีความเก่าใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกเลยทีเดียว ซึ่งย่อมแสดงว่าในช่วงเวลานั้นอักษรเขียนได้แพร่หลายในอินเดียและภูมิภาคใกล้เคียงทางตะวันตกเฉียงเหนือแล้ว
![]() |
ทะเลทรายทากลามากัน Takla Makan |
![]() |
จารึกบนเปลือกไม้เบิร์ช ม้วนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในราว พ.ศ. 296-434 |
จารึกพระเจ้าอโศก เริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 226 ภาษาปรากฤต อักษรพราหมี |
จากงานวิจัยในภูมิภาคคันธาระ เอเชียกลาง และจีน งานวิจัยนี้ตอบปัญหาดังนี้1. มีการกล่าวถึง “ธรรมกาย” จริงในคัมภีร์ดั้งเดิม
โดยมีปรากฏในงานที่
ดร.ชนิดา จันทราศรีไศลถอดถ่ายจากคัมภีร์โบราณ 15 คัมภีร์
ดร.ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล ถ่ายถอดจาก 4 คัมภีร์หลัก พระวีรชัย เตชงฺกุโรและคณะรวบรวมจากร่องรอยทุติยภูมิเป็นส่วนใหญ่ได้อีก
78 คัมภีร์ ทั้งนี้ยังมีคัมภีร์อีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้อ่าน
เท่าที่ร่องรอยสามารถสืบค้นได้
คัมภีร์ที่มีคำว่า “ธรรมกาย” ที่เก่าที่สุดและสำคัญที่สุดนั้น ในที่นี้อาจแบ่งเป็น
3 ช่วงยุคเรียงลำดับที่ศึกษา คือ
ยุคพุทธกาล ถึงประมาณ
พ.ศ. 300 เป็นช่วงคำสอนดั้งเดิม
เป็นช่วงที่เกือบไม่ปรากฏคัมภีร์ตัวเขียน
เพราะการถ่ายทอดใช้วิธีท่องจำและสอนปากเปล่า อาจมีการแกะสลักหรือวาดภาพที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในเชิงสัญลักษณ์
ซึ่งในปัจจุบันมีการค้นพบอยู่บ้างแต่ไม่อาจตีความหมายได้ชัดเจน
ยุคหินยานและมหายานก่อนขยายความ
จาก พ.ศ. 300 ถึงราวพ.ศ.743
(ปี พ.ศ. 743 เกิดคัมภีร์มัธยามิกะของท่านนาคารชุน)
เป็นช่วงยุคที่เกิดคัมภีร์มากมายในเขตเอเชียกลางและคันธาระ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่พ.ศ. 400 สืบต่อมาอีกสามศตวรรษเศษเป็นช่วงที่พุทธศาสนามีความรุ่งเรืองมากจนถึงกับมีการจารึกเป็นตัวอักษรเขียนปรากฏอย่างมากมาย
ทั้งหินยาน
และมหายานก่อนขยายความ
สำนักที่สามารถระบุได้ว่ามีอิทธิพลอยู่ในแถบนี้แต่โบราณ ประกอบด้วยมหาสางฆิกะ สรรวาสติวาท
และธรรมคุปต์ เป็นต้น ยุคนี้เกิดภาพแกะสลักและพระพุทธรูปศิลปะคันธาระราวปี พ.ศ.
370
![]() |
พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ |
ยุคมหายานขยายความ ตั้งแต่
พ.ศ. 744
ซึ่งสมัยท่านนาคารชุน
ประพันธ์“โศลกมูลฐานว่าด้วยทางสายกลาง” ที่เรียกว่าคัมภีร์สายมัธยามิกะ
หรือช่วง
มหายานยุคขยายความ (ท่านนาคารชุนมีชีวิตอยู่ประมาณ
พ.ศ. 693-793) จากงานวิจัยข้างต้นสรุปคัมภีร์ด้วยการแบ่งช่วงยุค
(periodization) ได้ดังนี้
1.1 ยุคพุทธกาล ถึงประมาณ พ.ศ. 300
คัมภีร์ที่ปรากฏเรื่องธรรมกายส่วนใหญ่อยู่ในสายมหาสางฆิกะ
แต่เนื่องจากในยุคนั้นยังไม่ได้จารคัมภีร์ด้วยตัวอักษร (อาจมีแต่ยังไม่พบ
หรือพบน้อยมาก) ทว่าจะถูกท่องจำ และนำไปเขียนในยุคต่อๆ มา หลังจากนั้นก็จะถูก
แปลเป็นภาษาต่างๆ ขยายความกว้างออกไปอีก
ดังเช่นมหาปรินิรวาณสูตรถูกระบุว่าเป็นพระสูตรสุดท้ายที่พระพุทธองค์ได้เทศน์สั่งสอนก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในยุคนี้มีคัมภีร์สำคัญเช่น มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ปรัชญาปารมิตา
คัมภีร์เหล่านี้มีสาระสำคัญมากมายที่เกี่ยวข้องกับ
“ธรรมกาย” และเป็นต้นสาย “ตถาคตครรภะ”
ซึ่งกล่าวถึงกายภายใน
1.2 ยุคหินยานและมหายานก่อนขยายความ จาก พ.ศ. 300 ถึงราว พ.ศ. 743
เป็นช่วงยุคที่พุทธศาสนารุ่งเรืองมากทางตอนเหนือของอินเดียและเกิดคัมภีร์มากมาย
ส่วนใหญ่เป็น
สายมหาสางฆิกะ โลโกตรวาท
ธรรมคุปต์ สรรวาสติวาท มูลสรรวาสติวาท คัมภีร์ที่พบมีดังต่อไปนี้
1.2.1 คัมภีร์ในสายของปรัชญาปารมิตา ถือเป็นคัมภีร์ที่มีความเก่ามาก
น่าจะเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 400-พ.ศ. 600
1.2.2 โทณสูตร ภาษาคานธารี
พ.ศ. 480-530 สายธรรมคุปต์
1.2.3 ภัทรปาละสูตร ภาษาสันสกฤตแบบผสม
น่าจะเขียนขึ้นราว พ.ศ. 500 หรือเก่ากว่านั้น เป็นมหายาน (ก่อนยุคขยายความ)
1.2.4 คัมภีร์ประเภทนิทเทส ภาษาคานธารี
พ.ศ. 490-510 สายธรรมคุปต์
1.2.5 โพธิสตฺตวปิฏก ภาษาคานธารี
พ.ศ. 580-780 สายธรรมคุปต์
1.2.6 วาสิชฎสูตร ภาษาคานธารี
พ.ศ. 610-620 สายสรรวาสติวาท
1.2.7 หลักตถาคตครรภะ เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าหรือไม่นั้น
ได้มีการค้นพบคัมภีร์โบราณซึ่งย้อนหลังไปได้ถึง
พุทธศตวรรษที่ 6-7 (ศ.
1-2) ซึ่งอาจถอยไปได้เก่ากว่านั้น คือราว พ.ศ.
400
1.3 ยุคมหายานขยายความ ตั้งแต่ พ.ศ. 744
1.3.1 ศตปญฺจศติกา
สโตตรฺ
ภาษาสันสกฤต พ.ศ. 780-980 เป็นมหายาน
1.3.2 จตุศะติกา
สโตตรฺ
ภาษาสันสกฤต พ.ศ. 780 -980 เป็นมหายาน
1.3.3 ตถาคตครฺภสูตร
(Tathāgatagarbha
sūtra)
ฉบับดั้งเดิมน่าจะมีอายุในช่วง พุทธศตวรรษที่ 8-9 เป็นมหายาน
1.3.4 ศฺรีมาลาเทวีสิหนาทนิรฺเทศ ภาษาสันสกฤต
พ.ศ.880-980 สถานที่พบ บามิยัน เป็นมหายาน
1.3.5 สมาธิราชสูตร ภาษาสันสกฤต
ฉบับ พ.ศ. 880-980 เป็นมหายาน
1.3.6 คัมภีร์ลังกาวตารสูตร พุทธศตวรรษที่ 9
1.3.7 วัชรัจเฉทิกา ปรัชญาปารมิตา
ภาษาสันสกฤต พ.ศ. 980-1180 และวัชรัจเฉทิกา ปรัชญาปารมิตา พ.ศ. 930-1200 ภาษาโขตานโบราณ เป็นมหายาน
1.3.8 อังคุลิมาลียะสูตร พ.ศ.
988-996
1.3.9 ไมเตรฺยวยากรณ ภาษาสันสกฤต
ฉบับ พ.ศ. 1080-1280 ค้นพบที่บามิยัน เป็นมหาสางฆิกะ และฉบับ
พ.ศ. 1080-1280 ค้นพบที่กิลกิต เป็นสายมูลสรรวาสติวาท
1.3.10 โยคาจาร ภาษาสันสกฤต พ.ศ. 980-1180 เป็นสรรวาสติวาทหรือมูลสรรวาสติวาท
1.3.11 คัมภีร์ต้นฉบับภาษาโขตาน พ.ศ.
1000-1500
1.3.12 ภัทรปาลสูตร ภาษาสันสกฤตแบบผสม พ.ศ.
1080-1280 เป็นมหายาน
1.3.13 มหาปรินิรวาณมหาสูตร ภาษาสันสกฤต พ.ศ.1080-1280
พบสองแห่งในเอเชียกลาง เป็นพระสูตรมหายาน
1.3.14 ไม่ปรากฏชื่อ ภาษาสันสกฤต เขียนด้วยอักษรอัพไรท์ กุปตะ (Upright Gupta) ใน พ.ศ. 1080-1280
1.3.15 สุวรฺณปฺรภาโสตฺตมสูตร ภาษาสันสกฤต พ.ศ.1080-1280
พบในเอเชียกลาง เป็นมหายาน
1.3.16 ธรรมศรีรสูตร ภาษาสันสกฤต ฉบับ พ.ศ.
1080-1280 และฉบับ พ.ศ. 980-1180 เขียนด้วยภาษาโขตานโบราณ เป็นมหายาน
คัมภีร์เหล่านี้ยืนยันร่องรอยความมีอยู่ของคำสอนธรรมกาย
อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาพันปีแรก หลังจากนั้นคันธาระและเอเชียกลางถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงด้วยการรุกเข้ามาของกองทัพต่างศาสนา
ชาวเมืองต้องละทิ้งศาสนาดั้งเดิมของตน ถาวรวัตถุและร่องรอยจารึกถูกทำลายจนแทบไม่มีเหลือและถูกเปิดเผยสู่สายตาของคนยุคปัจจุบันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
(ข้อมูลจากสถาบันวิจัยDIRI และหนังสือหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 )